วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

โครงงานอาชีพ

1.โครงงานอาชีพ การทำข้าวต้มมัด - Presentation Transcript

  1. โครงงานอาชีพการแปรรูอาหารจากกล้วย
    การทำข้าวต้มมัด
    โดย...
    นางรัศมีแข แสนมาโนช
  2. สาระสำคัญ
    ข้าวต้มมัด ข้าวต้มผัด ข้าวต้มกล้วย ทั้งสามชื่อนี้ คืออาหารหวานอย่างเดียวกัน แต่ชื่อที่เรียกอาจจะแล้วแต่ท้องถิ่นที่ตั้งคำจำกัดความ และส่วนผสม ของเจ้าของขนม ที่ทำด้วยข้าวเหนียวห่อด้วยใบตองแล้วมัด
  3. จุดประสงค์การเรียนรู้
    1
    1. บอกวัสดุการทำข้าวต้มมัดได้
    2
    2. บอกอุปกรณ์สำหรับการทำข้าวต้มมัดได้
    4
    3
    3. อธิบายขั้นตอนการจัดทำข้าวต้มมัดได้ถูกต้อง
    4. จัดทำข้าวต้มมัดไว้รับประทานและจำหน่ายได้ด้วยตนเอง
  4. แบบทดสอบก่อนเรียน
    คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียวโดยใช้เมาส์คลิก
    ที่หน้าข้อที่คิดว่าถูกต้อง
    01
    1
    1. ข้อใดกล่าวถูกต้องในการใช้ใบตองห่อข้าวต้มมัด
    ก. ใช้ใบตองกล้วยที่ผ่านการผึ่งแดด
    ข. ใช้ใบตองกล้วยที่ตัดมาใหม่ ๆ
    ค. ใช้ใบตองกล้วยแก่จัด
    ง. ใช้ใบตองกล้วยแห้ง
    • Click to add Text
    • Click to add Text
    • Click to add Text
    • Click to add Text
    • แบบทดสอบก่อนเรียน
      02
      1
      2. ข้าวที่นิยมนำมาใช้ทำข้าวต้มมัดคือ
      ก. ข้าวเจ้า
      ข. ข้าวเหนียว
      ค. ข้าวเม่า
      ง. ข้าวสุก
      • Click to add Text
      • Click to add Text
      • Click to add Text
      • Click to add Text
      • แบบทดสอบก่อนเรียน
        03
        1
        3. ข้าวชนิดใดเวลาผัดแล้วต้องใส่กะทิมากกว่าธรรมดาข้าวจึงจะสุก
        ก. ข้าวสุก
        ข. ข้าวเม่า
        ค. ข้าวเหนียวค้างปี
        ง. ข้าวเจ้าค้างปี
        • Click to add Text
        • Click to add Text
        • Click to add Text
        • Click to add Text
        • แบบทดสอบก่อนเรียน
          04
          1
          4. ข้อปฏิบัติก่อนที่จะนำข้าวมาห่อทำขาวต้มมัดทำอย่างไร
          ก. แช่ข้าวก่อน
          ข. ใช้ข้าวสาร
          ค. ตำข้าวก่อน
          ง. นึ่งข้าวก่อน
          • Click to add Text
          • Click to add Text
          • Click to add Text
          • Click to add Text
          • แบบทดสอบก่อนเรียน
            05
            1
            5. ข้าวต้มมัดนิยมใส่ไส้ของข้าวต้มมัดด้วยอะไร
            ก. เนื้อ
            ข. นม
            ค. ไข่
            ง. ถั่ว
            • Click to add Text
            • Click to add Text
            • Click to add Text
            • Click to add Text
            • การทำข้าวต้มมัด
              การทำข้าวต้มมัด
              ข้าวต้มมัด เมื่อเรานำใบตองที่ห่อข้าวต้มจะต้องมีลักษณะพิเศษคือต้องเป็นใบตองกล้วยสวนที่ใบอ่อน ๆ และช่วงสั้น ๆ ต้องนำมาค้างคืนไว้สักคืนให้ใบตองนิ่ม
              ห่อออกมาแล้วจะสวยงามกล้วยที่เอามาทำก็ต้องสุกงอมมาทำเป็นไส้ข้าวต้มมัดเมื่อต้มเสร็จแล้วจะเป็นสีแดงและยังมีไส้อย่างอื่นอีก เช่น เผือก ถั่ว ข้าวที่นำมาห่อทำเป็นข้าวต้มมัดนั้นใช้ข้าวเหนียวไม่ต้องแช่น้ำถ้าเป็นข้าวต้มผัดข้าวเหนียวค้างปีจะต้องใส่กะทิมากหน่อยข้าวจึงจะสุก เมื่อเรานำข้าวเหนียวสดที่เตรียมมาวางลงบนใบตอง
              ที่เตรียมไว้นำกล้วย เผือก ถั่ว มาวางทำเป็นไส้เสร็จแล้วก็ห่อตามวิธีการให้แน่น ข้าวต้มมัดให้เอาห่อข้าวต้ม 2 ห่อมาประกบกันแล้วมัดด้วยเชือกกล้วยแล้วนำไปต้มต่อไป
              ส่วนข้าวต้มผัดเมื่อห่อเสร็จแล้วก็จัดวางเรียงเข้าหม้อนึ่งแล้วนำไปนึ่งต่อไปดังมีนำเสนอและฝึกปฏิบัติดังต่อไปนี้
              75%
            • อุปกรณ์และวัสดุ
              กะละมัง 4. มีดหั่น
              2. ใบตองกล้วย 5. เตาไฟ
              3. ลังถึง 6. กระทะ
              7. ตอกไม้ไผ่ หรือเชือก
            • ส่วนผสม
              ข้าวเหนียว 1 กิโลกรัม หัวกะทิ 3 ถ้วยตวง เกลือ 3 ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทราย 1 3/4 ถ้วยตวง กล้วยน้ำว้า 1 หวี ถั่วดำต้มแล้ว 300 กรัม
              ไส้เผือกกวน เผือกนึ่งแล้วบด 1 กิโลกรัม
              น้ำตาลทราย 3 ถ้วยตวง
              กะทิข้น ๆ 1 ถ้วยตวง
              ครื่องห่อ ตอก, ใบตอง
            • ขั้นตอนและวิธีการทำ
              แช่ข้าวเหนียวในน้ำอย่างน้อย 3 ชั่วโมงผสมกะทิ เกลือคนให้เข้ากัน ตั้งไฟพอเดือด ใส่น้ำตาลทรายลงกวนให้เข้ากัน จนกระทั่งพอเริ่มแห้ง ยกลงข้าวต้มมัด นำใบตองกล้วย ข้าวเหนียว มาเตรียมห่อ ส่วนข้าวต้มผัด ก็เตรียมผัดข้าวเพื่อจะนำมาห่อ
              01
            • ขั้นตอนและวิธีการทำ
              ฉีกใบตอง ขนาด 8 นิ้ว , 7นิ้ว สองขนาด
              วางซ้อนกัน หยิบข้าวเหนียวที่ผัดได้ที่แล้ว
              ใส่กล้วยผ่าตามยาวครึ่งลูก หรือไส้เผือกกวน
              วางข้าวเหนียวทับไส้ให้มิดบางๆ ใส่ถั่วดำ
              ห่อข้าวต้มให้ สวยงาม มัดด้วยตอกหรือเชือก
              ให้แน่น ประกบคู่มัดเป็นสองช่วงหัวท้าย
              02
            • ขั้นตอนและวิธีการทำ
              3. นึ่งข้าวต้มที่ห่อแล้วประมาณ 45 นาที หรือ 1 ชั่วโมง จนข้าวเหนียวสุก ดังภาพ (การทำเผือกกวน ผสมส่วนผสมทั้งหมดรวมกันตั้งไฟกวนจนแห้งปั้นได้ นำไปใส่ไส้
              ข้าวเหนียว)
              03
            • ขั้นตอนและวิธีการทำ
              หมายเหตุ
              ข้าวเหนียวจะต้องแช่น้ำไว้สักพักให้ข้าวเหนียวนิ่มต้องลด กะทิลง และ นึ่งในระยะสั้นกว่า ข้าวเหนียวที่ไม่ได้แช่น้ำให้นิ่ม แต่ส่วนใหญ่ ข้าวต้มมัดจะไม่แช่น้ำ แต่บางคน อาจจะมีสูตรที่แตกต่างออกไป
              ก็คงแล้วแต่ท้องถิ่นนั้นๆ ก็อาจจะเป็นไปได้ แต่ทางแถบชาวสวน ชาวเมืองมุกดาหาร จะไม่ค่อยนำข้าวเหนียวไปแช่น้ำให้นิ่ม เหมือนกับที่เรามูนข้าวเหนียว
            • ขั้นตอนและวิธีการทำ
              วิธีผัดข้าว นำกะทิ มาใส่น้ำตาล ใส่เกลือ ชิมรสให้เข้มข้นไว้ แล้วก็คนให้ละลายนำไปตั้งไฟให้เดือด พอกะทิ เดือดปุดๆ (ไม่ใช่เดือดพล่าน) ก็เอาข้าวเหนียวใส่ไป แล้วก็กวนไปไฟอ่อนๆ จนกว่า กะทิ จะแห้ง แล้วก็ยกลงตั้งทิ้งไว้ให้ ข้าวเย็น เสียก่อน ค่อยนำมาห่อ แล้วก็นำไปนึ่ง ให้สุก
            • ข้าวต้มมัดที่เสร็จสมบูรณ์
            • กิจกรรมที่ 1
              คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามจากหัวข้อต่อไปนี้
              01
              บอกเครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำข้าวต้มมัดได้แก่
              .............................................................................................................
              ............................................................................................................. .............................................................................................................
              .............................................................................................................
            • กิจกรรมที่ 1
              คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามจากหัวข้อต่อไปนี้
              02
              บอกหลักการในการทำข้าวต้มมัดได้ .............................................................................................................
              ............................................................................................................. .............................................................................................................
              .............................................................................................................
            • กิจกรรมที่ 1
              คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามจากหัวข้อต่อไปนี้
              03
              บอกขั้นตอนในการทำข้าวต้มมัดได้แก่
              .............................................................................................................
              ............................................................................................................. .............................................................................................................
              .............................................................................................................
            • แบบทดสอบหลังเรียน
              คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียวโดยใช้เมาส์คลิก
              ที่หน้าข้อที่คิดว่าถูกต้อง
              01
              1
              1. ข้อใดกล่าวถูกต้องในการใช้ใบตองห่อข้าวต้มมัด
              ก. ใช้ใบตองกล้วยที่ผ่านการผึ่งแดด
              ข. ใช้ใบตองกล้วยที่ตัดมาใหม่ ๆ
              ค. ใช้ใบตองกล้วยแก่จัด
              ง. ใช้ใบตองกล้วยแห้ง
              • Click to add Text
              • Click to add Text
              • Click to add Text
              • Click to add Text
              • แบบทดสอบหลังเรียน
                02
                1
                2. ข้าวที่นิยมนำมาใช้ทำข้าวต้มมัดคือ
                ก. ข้าวเจ้า
                ข. ข้าวเหนียว
                ค. ข้าวเม่า
                ง. ข้าวสุก
                • Click to add Text
                • Click to add Text
                • Click to add Text
                • Click to add Text
                • แบบทดสอบหลังเรียน
                  03
                  1
                  3. ข้าวชนิดใดเวลาผัดแล้วต้องใส่กะทิมากกว่าธรรมดาข้าวจึงจะสุก
                  ก. ข้าวสุก
                  ข. ข้าวเม่า
                  ค. ข้าวเหนียวค้างปี
                  ง. ข้าวเจ้าค้างปี
                  • Click to add Text
                  • Click to add Text
                  • Click to add Text
                  • Click to add Text
                  • แบบทดสอบหลังเรียน
                    04
                    1
                    4. ข้อปฏิบัติก่อนที่จะนำข้าวมาห่อทำขาวต้มมัดทำอย่างไร
                    ก. แช่ข้าวก่อน
                    ข. ใช้ข้าวสาร
                    ค. ตำข้าวก่อน
                    ง. นึ่งข้าวก่อน
                    • Click to add Text
                    • Click to add Text
                    • Click to add Text
                    • Click to add Text
                    • แบบทดสอบหลังเรียน
                      05
                      1
                      5. ข้าวต้มมัดนิยมใส่ไส้ของข้าวต้มมัดด้วยอะไร
                      ก. เนื้อ
                      ข. นม
                      ค. ไข่
                      ง. ถั่ว
                      • Click to add Text
                      • Click to add Text
                      • Click to add Text
                      • Click to add Text
                      • เอกสารอ้างอิง
                        กรมอาชีวศึกษา. หลักการถนอมผลผลิตทางการเกษตร. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2523.
                        วณิชา เพชรสุวรรณ. โครงงานอาหารและโภชนาการ. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, ม.ป.ป.
                        วินิดา ฆารไสว. การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่องถนอมอาหาร
                        กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. การศึกษา
                        ค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มาหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2548.
                        สุเพียร สารลึก. การพัฒนาแผนการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่องถนอมอาหาร และ
                        การแปรรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.
                        การศึกษาค้นคว้า อิสระ กศ.ม. มาหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2547.
                        • Click to add Text
                        • Click to add Text
                        • Click to add Text
                        • Click to add Text
                        • **จัดทำโดย **
                          รัศมีแข แสนมาโนช
                          ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านชาด
                          สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3
                        • ขอขอบคุณ
                          ผู้อำนวยการ
                          คณะครู และนักเรียน
                          โรงเรียนบ้านชาดทุกคน
                          การทำข้าวต้มมัด
                          จัดทำโดย...
                          รัศมีแข แสนมาโนชครูชำนาญการพิเศษ
                          2.การจักสานด้วยไม้ไผ่เงินลงทุน :   ประมาณ 5,000-10,000 บาท
                          แหล่งจำหน่ายอุปกรณ์ :   จังหวัดลำพูน เชียงใหม่ ชัยนาท จันทบุรี กาญจนบุรี
                          อุปกรณ์ :   ไม้ไผ่ มีดขนาดต่างๆ เช่น มีดสำหรับผ่า มีดจักตอก ฯลฯ สว่านแบบมือหมุน เลื่อย ปากคีบ แบบหุ่น
                          รายได้ :   ประมาณ 8,000-15,000 บาท/เดือน
                          วิธีดำเนินการ :
                          1. หาแหล่งที่จะซื้อไม้ไผ่ที่แปรรูปแล้วและยังไม่แปรรูป
                          2. ควรได้ศึกษาถึงชนิดการใช้งานของไม้ไผ่ชนิดต่างๆ เนื่องจากไม้ไผ่แต่ละชนิดมีคุณลักษณะแตกต่างกัน เช่น
                          - ไผ่สีสุก มีเนื้อหนา เหนียวทนทาน จึงเหมาะที่จะนำไปทำเครื่องจักสานประเภทเฟอร์นิเจอร์ เครื่องมือประมง
                          - ไผ่นวล มีเนื้ออ่อนค่อนข้างเหนียว เหมาะที่จะนำไปทำเครื่องจักสานชนิดที่ต้องการความละเอียด เนื่องจากสามารถจักตอกให้เป็นเส้นเล็กบางได้
                          - ไผ่รวกดำ ลำต้นแข็งแรงทนทาน ใช้ทำโครงร่ม โครงพัดสานเข่ง
                          - ไผ่ข้าวหลาม เป็นไผ่เนื้อค่อนข้างบางใช้ทำกระบอกข้าวหลาม เครื่องจักสาน
                          - ไผ่เฮี๊ยะ เป็นไม้ไผ่ขนาดกลาง ใช้ทำเครื่องจักสาน โครงสร้างอาคาร
                          pai-product01
                          3. เตรียมไม้ไผ่เพื่อนำมาจักสาน ควรเป็นไผ่ที่มีอายุ 2-4 ปี ซึ่งเนื้อไม้จะมีความเหนียวกำลังดี ไม่แก่หรืออ่อนเกินไปและต้องเลือกดูไม้ที่ไม่มีแมลง แต่อย่างไรก็ดีควรจะต้มหรือผ่าน กรรมวิธีป้องกันเชื้อราและมอดเสียก่อน (ไม้ไผ่ที่นิยมนำมาใช้ในการจักสาน ได้แก่ ไผ่เลี้ยง ไผ่สีสุก ไผ่เฮี๊ยะ ไผ่ลำมะลอก ไผ่รวก เป็นต้น) จากนั้นจึงนำไปตัด ซึ่งต้องตัดให้มีความยาวตามขนาดผลิตภัณฑ์ที่จะสาน แล้วนำไปริดข้อ ซึ่งต้องระวังอย่าริดให้ลึกจนเกิดรอยแผลที่ผิวไม้ไผ่ และขั้นตอนสุดท้าย คือ ขูดผิวไม้ไผ่ เพื่อการย้อม/ทาสี หลังจากขูดแล้วใช้กระดาษทรายเบอร์ 0 ขัดให้เรียบร้อยอีกครั้งหนึ่ง
                          4. การย้อมและการทาสีไม้ไผ่เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะทำให้เครื่องจักสานดูสวยงาม น่าใช้ ซึ่งก่อนที่จะทำการย้อมสี จะต้องเอาน้ำมันออกจากเนื้อไม้เสียก่อน โดยการต้มไม้ไผ่ในน้ำโซดาไฟ หรือโซเดียมคาร์บอเนต ขนาด 0.2% นานประมาณ 3-4 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด และอบให้แห้งสนิท จากนั้นนำไม้ไผ่ลงต้มกับสีที่ ละลายน้ำแล้ว ประมาณ 20-60 นาที อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส ซึ่งขั้นตอนค่อนข้างยุ่งยาก ดังนั้น จึงนิยมใช้วิธีทาสีด้วยสีน้ำมันแลคเกอร์หรือน้ำมันวานิชแทน
                          5. ติดต่อหาตลาดจำหน่าย ซึ่งโดยปกติจะมีพ่อค้ามารับซื้อถึงบ้าน หรือบางครั้งจะรับสั่งทำตามที่ลูกค้าต้องการ หรืออาจจะนำไปขายเองก็ได้
                          6. ปรับปรุงและพัฒนารูปแบบของเครื่องจักสานให้ทันสมัย เป็นที่ถูกตาต้องใจของลูกค้าทุกวัย เพราะบางครั้งลูกค้าซึ่งมีความเข้าใจว่าเครื่องจักสานเป็นสินค้าที่เหมาะกับผู้สูงอายุเท่านั้น
                          pai-product02
                          สถานที่ฝึกอบรม :
                          1. สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โทร. 02-245-2655, 245-4741
                          2. ในส่วนภูมิภาคที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม 11 ศูนย์ ดังนี้ เชียงใหม่ พิษณุโลก พิจิตร อุดรธานี ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ ชลบุรีสุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี สงขลา
                          3. อุตสาหกรรมจังหวัด (ส่วนส่งเสริมอุตสาหกรรม) ทุกจังหวัด
                          ข้อแนะนำ :    การย้อมสีให้ติดดีนั้น ให้ขูดผิวไม้ไผ่อย่างแผ่ว ๆ ด้วยมีดเสียก่อน และถ้าจะให้สีเด่นให้นำไม้ไผ่ลงแช่ในกรดแทนนิคแอซิค ชนิด 4-6 เป็นเวลา 3 ชั่วโมง หรือแช่ในน้ำยาทา อีเมติค ชนิด 1-2 เป็นเวลา 30 นาที                                                                                                     

                        3.การประดิษฐ์ดอกไม้จากพลาสติกเหลือใช้ด้วยโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

                        ชื่องานวิจัย                การประดิษฐ์ดอกไม้จากพลาสติกเหลือใช้ด้วยโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่  4
                        ชื่อผู้วิจัย                    ชนิดา  พาประจง
                        สถานที่ศึกษา             โรงเรียนคงชัยสิทธิ์วิทยา  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1
                        ปีที่พิมพ์                      2551

                         บทคัดย่อ                   พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พุทธศักราช  2542  ให้สถานศึกษามีหน้าที่ปรับปรุงกลุ่มสาระการเรียนรู้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชนและสังคม    ให้หลักสูตรสอดคล้องกับสภาพปัญหาที่แท้จริงของท้องถิ่น  การจัดการพัฒนาแผนการเรียนรู้    เรื่อง  การประดิษฐ์ดอกไม้จากพลาสติกเหลือใช้ด้วยโครงงาน  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  เพื่อพัฒนาแผนการเรียนรู้  เรื่องประดิษฐ์ดอกไม้จากพลาสติกเหลือใช้ด้วยโครงงาน  ให้สอดคล้องกับสภาพจริงของชุมชนและท้องถิ่น  แผนการจัด    การเรียนรู้ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าพัฒนาขึ้น  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า  คือ  ผู้เรียนชั้นประถมศึกษา  ปีที่ 4  โรงเรียนคงชัยสิทธิ์วิทยา  ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2551  จำนวน 15 คน  ได้มาแบบเจาะจง  (Purposive Sampling)  เครื่องมือที่ใช้คือ  แผนการจัดการเรียนรู้  เรื่อง  การประดิษฐ์ดอกไม้จากพลาสติกเหลือใช้ด้วยโครงงาน  เอกสารประกอบการเรียนรู้การประดิษฐ์ดอกไม้จากพลาสติกด้วยโครงงาน  แบบวัดประสิทธิภาพการเรียนรู้  ระหว่างเรียน  แบบวัดสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนรู้ก่อนเรียน        หลังเรียน  และแบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้
                                        การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานด้วย  t - test  (Dependent Sample)  ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า
                                        1.   การวัดผลหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้  จำนวน  10  แผน  เรื่อง  การประดิษฐ์ดอกไม้จากพลาสติกเหลือใช้ด้วยโครงงาน  (E1)  เท่ากับร้อยละ  87.13  ของคะแนนเต็ม  ดังนั้นประสิทธิภาพของกระบวนของสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ร้อยละ  80.00
                                        2.   การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เรื่อง  การประดิษฐ์ดอกไม้จากพลาสติกเหลือใช้     ด้วยโครงงาน  จำนวน  20  ข้อ  20  คะแนน (E2)   ผู้เรียนสามารถทำคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ  17.53    คิดเป็น  ร้อยละ  87.66  ของคะแนนเต็ม  สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งเอาไว้ร้อยละ  80.00
                                        3.   ผลการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน  โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้   เรื่อง  การประดิษฐ์ดอกไม้จากพลาสติกเหลือใช้ด้วยโครงงาน  พบว่า  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน   ก่อนเรียน  ค่าเฉลี่ยอยู่ที่  10.40  และคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เพื่อทดสอบหลังเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่  17.53  ค่าเฉลี่ยหลังเรียนเพิ่มขึ้นเท่ากับ  7.13  คะแนน  หรือผู้เรียนมีประสิทธิผล     การเรียนเท่ากับ  0.7432  หรือมีความรู้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ  74.32
                                        4.   ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  ที่มีต่อแผนการจัด   การเรียนรู้  เรื่อง  การประดิษฐ์ดอกไม้จากพลาสติกเหลือใช้ด้วยโครงงานอยู่ในระดับพอใจมาก  (  = 4.24)  โดยสรุป  แผนพัฒนาการเรียนรู้  เรื่อง  การประดิษฐ์ดอกไม้จากพลาสติกเหลือใช้ ด้วยโครงงาน  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  ที่ผ่านการประเมินโดยคณะผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับดีที่สุด  และจากการทดลองใช้โดยผู้ศึกษาค้นคว้า  พบว่า  เป็นแผนพัฒนาการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ      ตามเกณฑ์และสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้บรรลุจุดมุ่งหมายได้ตามที่ตั้งเอาไว้

                        ไม่มีความคิดเห็น:

                        แสดงความคิดเห็น