วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

โครงงานอาชีพ

1.โครงงานอาชีพ การทำข้าวต้มมัด - Presentation Transcript

  1. โครงงานอาชีพการแปรรูอาหารจากกล้วย
    การทำข้าวต้มมัด
    โดย...
    นางรัศมีแข แสนมาโนช
  2. สาระสำคัญ
    ข้าวต้มมัด ข้าวต้มผัด ข้าวต้มกล้วย ทั้งสามชื่อนี้ คืออาหารหวานอย่างเดียวกัน แต่ชื่อที่เรียกอาจจะแล้วแต่ท้องถิ่นที่ตั้งคำจำกัดความ และส่วนผสม ของเจ้าของขนม ที่ทำด้วยข้าวเหนียวห่อด้วยใบตองแล้วมัด
  3. จุดประสงค์การเรียนรู้
    1
    1. บอกวัสดุการทำข้าวต้มมัดได้
    2
    2. บอกอุปกรณ์สำหรับการทำข้าวต้มมัดได้
    4
    3
    3. อธิบายขั้นตอนการจัดทำข้าวต้มมัดได้ถูกต้อง
    4. จัดทำข้าวต้มมัดไว้รับประทานและจำหน่ายได้ด้วยตนเอง
  4. แบบทดสอบก่อนเรียน
    คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียวโดยใช้เมาส์คลิก
    ที่หน้าข้อที่คิดว่าถูกต้อง
    01
    1
    1. ข้อใดกล่าวถูกต้องในการใช้ใบตองห่อข้าวต้มมัด
    ก. ใช้ใบตองกล้วยที่ผ่านการผึ่งแดด
    ข. ใช้ใบตองกล้วยที่ตัดมาใหม่ ๆ
    ค. ใช้ใบตองกล้วยแก่จัด
    ง. ใช้ใบตองกล้วยแห้ง
    • Click to add Text
    • Click to add Text
    • Click to add Text
    • Click to add Text
    • แบบทดสอบก่อนเรียน
      02
      1
      2. ข้าวที่นิยมนำมาใช้ทำข้าวต้มมัดคือ
      ก. ข้าวเจ้า
      ข. ข้าวเหนียว
      ค. ข้าวเม่า
      ง. ข้าวสุก
      • Click to add Text
      • Click to add Text
      • Click to add Text
      • Click to add Text
      • แบบทดสอบก่อนเรียน
        03
        1
        3. ข้าวชนิดใดเวลาผัดแล้วต้องใส่กะทิมากกว่าธรรมดาข้าวจึงจะสุก
        ก. ข้าวสุก
        ข. ข้าวเม่า
        ค. ข้าวเหนียวค้างปี
        ง. ข้าวเจ้าค้างปี
        • Click to add Text
        • Click to add Text
        • Click to add Text
        • Click to add Text
        • แบบทดสอบก่อนเรียน
          04
          1
          4. ข้อปฏิบัติก่อนที่จะนำข้าวมาห่อทำขาวต้มมัดทำอย่างไร
          ก. แช่ข้าวก่อน
          ข. ใช้ข้าวสาร
          ค. ตำข้าวก่อน
          ง. นึ่งข้าวก่อน
          • Click to add Text
          • Click to add Text
          • Click to add Text
          • Click to add Text
          • แบบทดสอบก่อนเรียน
            05
            1
            5. ข้าวต้มมัดนิยมใส่ไส้ของข้าวต้มมัดด้วยอะไร
            ก. เนื้อ
            ข. นม
            ค. ไข่
            ง. ถั่ว
            • Click to add Text
            • Click to add Text
            • Click to add Text
            • Click to add Text
            • การทำข้าวต้มมัด
              การทำข้าวต้มมัด
              ข้าวต้มมัด เมื่อเรานำใบตองที่ห่อข้าวต้มจะต้องมีลักษณะพิเศษคือต้องเป็นใบตองกล้วยสวนที่ใบอ่อน ๆ และช่วงสั้น ๆ ต้องนำมาค้างคืนไว้สักคืนให้ใบตองนิ่ม
              ห่อออกมาแล้วจะสวยงามกล้วยที่เอามาทำก็ต้องสุกงอมมาทำเป็นไส้ข้าวต้มมัดเมื่อต้มเสร็จแล้วจะเป็นสีแดงและยังมีไส้อย่างอื่นอีก เช่น เผือก ถั่ว ข้าวที่นำมาห่อทำเป็นข้าวต้มมัดนั้นใช้ข้าวเหนียวไม่ต้องแช่น้ำถ้าเป็นข้าวต้มผัดข้าวเหนียวค้างปีจะต้องใส่กะทิมากหน่อยข้าวจึงจะสุก เมื่อเรานำข้าวเหนียวสดที่เตรียมมาวางลงบนใบตอง
              ที่เตรียมไว้นำกล้วย เผือก ถั่ว มาวางทำเป็นไส้เสร็จแล้วก็ห่อตามวิธีการให้แน่น ข้าวต้มมัดให้เอาห่อข้าวต้ม 2 ห่อมาประกบกันแล้วมัดด้วยเชือกกล้วยแล้วนำไปต้มต่อไป
              ส่วนข้าวต้มผัดเมื่อห่อเสร็จแล้วก็จัดวางเรียงเข้าหม้อนึ่งแล้วนำไปนึ่งต่อไปดังมีนำเสนอและฝึกปฏิบัติดังต่อไปนี้
              75%
            • อุปกรณ์และวัสดุ
              กะละมัง 4. มีดหั่น
              2. ใบตองกล้วย 5. เตาไฟ
              3. ลังถึง 6. กระทะ
              7. ตอกไม้ไผ่ หรือเชือก
            • ส่วนผสม
              ข้าวเหนียว 1 กิโลกรัม หัวกะทิ 3 ถ้วยตวง เกลือ 3 ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทราย 1 3/4 ถ้วยตวง กล้วยน้ำว้า 1 หวี ถั่วดำต้มแล้ว 300 กรัม
              ไส้เผือกกวน เผือกนึ่งแล้วบด 1 กิโลกรัม
              น้ำตาลทราย 3 ถ้วยตวง
              กะทิข้น ๆ 1 ถ้วยตวง
              ครื่องห่อ ตอก, ใบตอง
            • ขั้นตอนและวิธีการทำ
              แช่ข้าวเหนียวในน้ำอย่างน้อย 3 ชั่วโมงผสมกะทิ เกลือคนให้เข้ากัน ตั้งไฟพอเดือด ใส่น้ำตาลทรายลงกวนให้เข้ากัน จนกระทั่งพอเริ่มแห้ง ยกลงข้าวต้มมัด นำใบตองกล้วย ข้าวเหนียว มาเตรียมห่อ ส่วนข้าวต้มผัด ก็เตรียมผัดข้าวเพื่อจะนำมาห่อ
              01
            • ขั้นตอนและวิธีการทำ
              ฉีกใบตอง ขนาด 8 นิ้ว , 7นิ้ว สองขนาด
              วางซ้อนกัน หยิบข้าวเหนียวที่ผัดได้ที่แล้ว
              ใส่กล้วยผ่าตามยาวครึ่งลูก หรือไส้เผือกกวน
              วางข้าวเหนียวทับไส้ให้มิดบางๆ ใส่ถั่วดำ
              ห่อข้าวต้มให้ สวยงาม มัดด้วยตอกหรือเชือก
              ให้แน่น ประกบคู่มัดเป็นสองช่วงหัวท้าย
              02
            • ขั้นตอนและวิธีการทำ
              3. นึ่งข้าวต้มที่ห่อแล้วประมาณ 45 นาที หรือ 1 ชั่วโมง จนข้าวเหนียวสุก ดังภาพ (การทำเผือกกวน ผสมส่วนผสมทั้งหมดรวมกันตั้งไฟกวนจนแห้งปั้นได้ นำไปใส่ไส้
              ข้าวเหนียว)
              03
            • ขั้นตอนและวิธีการทำ
              หมายเหตุ
              ข้าวเหนียวจะต้องแช่น้ำไว้สักพักให้ข้าวเหนียวนิ่มต้องลด กะทิลง และ นึ่งในระยะสั้นกว่า ข้าวเหนียวที่ไม่ได้แช่น้ำให้นิ่ม แต่ส่วนใหญ่ ข้าวต้มมัดจะไม่แช่น้ำ แต่บางคน อาจจะมีสูตรที่แตกต่างออกไป
              ก็คงแล้วแต่ท้องถิ่นนั้นๆ ก็อาจจะเป็นไปได้ แต่ทางแถบชาวสวน ชาวเมืองมุกดาหาร จะไม่ค่อยนำข้าวเหนียวไปแช่น้ำให้นิ่ม เหมือนกับที่เรามูนข้าวเหนียว
            • ขั้นตอนและวิธีการทำ
              วิธีผัดข้าว นำกะทิ มาใส่น้ำตาล ใส่เกลือ ชิมรสให้เข้มข้นไว้ แล้วก็คนให้ละลายนำไปตั้งไฟให้เดือด พอกะทิ เดือดปุดๆ (ไม่ใช่เดือดพล่าน) ก็เอาข้าวเหนียวใส่ไป แล้วก็กวนไปไฟอ่อนๆ จนกว่า กะทิ จะแห้ง แล้วก็ยกลงตั้งทิ้งไว้ให้ ข้าวเย็น เสียก่อน ค่อยนำมาห่อ แล้วก็นำไปนึ่ง ให้สุก
            • ข้าวต้มมัดที่เสร็จสมบูรณ์
            • กิจกรรมที่ 1
              คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามจากหัวข้อต่อไปนี้
              01
              บอกเครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำข้าวต้มมัดได้แก่
              .............................................................................................................
              ............................................................................................................. .............................................................................................................
              .............................................................................................................
            • กิจกรรมที่ 1
              คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามจากหัวข้อต่อไปนี้
              02
              บอกหลักการในการทำข้าวต้มมัดได้ .............................................................................................................
              ............................................................................................................. .............................................................................................................
              .............................................................................................................
            • กิจกรรมที่ 1
              คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามจากหัวข้อต่อไปนี้
              03
              บอกขั้นตอนในการทำข้าวต้มมัดได้แก่
              .............................................................................................................
              ............................................................................................................. .............................................................................................................
              .............................................................................................................
            • แบบทดสอบหลังเรียน
              คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียวโดยใช้เมาส์คลิก
              ที่หน้าข้อที่คิดว่าถูกต้อง
              01
              1
              1. ข้อใดกล่าวถูกต้องในการใช้ใบตองห่อข้าวต้มมัด
              ก. ใช้ใบตองกล้วยที่ผ่านการผึ่งแดด
              ข. ใช้ใบตองกล้วยที่ตัดมาใหม่ ๆ
              ค. ใช้ใบตองกล้วยแก่จัด
              ง. ใช้ใบตองกล้วยแห้ง
              • Click to add Text
              • Click to add Text
              • Click to add Text
              • Click to add Text
              • แบบทดสอบหลังเรียน
                02
                1
                2. ข้าวที่นิยมนำมาใช้ทำข้าวต้มมัดคือ
                ก. ข้าวเจ้า
                ข. ข้าวเหนียว
                ค. ข้าวเม่า
                ง. ข้าวสุก
                • Click to add Text
                • Click to add Text
                • Click to add Text
                • Click to add Text
                • แบบทดสอบหลังเรียน
                  03
                  1
                  3. ข้าวชนิดใดเวลาผัดแล้วต้องใส่กะทิมากกว่าธรรมดาข้าวจึงจะสุก
                  ก. ข้าวสุก
                  ข. ข้าวเม่า
                  ค. ข้าวเหนียวค้างปี
                  ง. ข้าวเจ้าค้างปี
                  • Click to add Text
                  • Click to add Text
                  • Click to add Text
                  • Click to add Text
                  • แบบทดสอบหลังเรียน
                    04
                    1
                    4. ข้อปฏิบัติก่อนที่จะนำข้าวมาห่อทำขาวต้มมัดทำอย่างไร
                    ก. แช่ข้าวก่อน
                    ข. ใช้ข้าวสาร
                    ค. ตำข้าวก่อน
                    ง. นึ่งข้าวก่อน
                    • Click to add Text
                    • Click to add Text
                    • Click to add Text
                    • Click to add Text
                    • แบบทดสอบหลังเรียน
                      05
                      1
                      5. ข้าวต้มมัดนิยมใส่ไส้ของข้าวต้มมัดด้วยอะไร
                      ก. เนื้อ
                      ข. นม
                      ค. ไข่
                      ง. ถั่ว
                      • Click to add Text
                      • Click to add Text
                      • Click to add Text
                      • Click to add Text
                      • เอกสารอ้างอิง
                        กรมอาชีวศึกษา. หลักการถนอมผลผลิตทางการเกษตร. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2523.
                        วณิชา เพชรสุวรรณ. โครงงานอาหารและโภชนาการ. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, ม.ป.ป.
                        วินิดา ฆารไสว. การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่องถนอมอาหาร
                        กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. การศึกษา
                        ค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มาหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2548.
                        สุเพียร สารลึก. การพัฒนาแผนการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่องถนอมอาหาร และ
                        การแปรรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.
                        การศึกษาค้นคว้า อิสระ กศ.ม. มาหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2547.
                        • Click to add Text
                        • Click to add Text
                        • Click to add Text
                        • Click to add Text
                        • **จัดทำโดย **
                          รัศมีแข แสนมาโนช
                          ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านชาด
                          สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3
                        • ขอขอบคุณ
                          ผู้อำนวยการ
                          คณะครู และนักเรียน
                          โรงเรียนบ้านชาดทุกคน
                          การทำข้าวต้มมัด
                          จัดทำโดย...
                          รัศมีแข แสนมาโนชครูชำนาญการพิเศษ
                          2.การจักสานด้วยไม้ไผ่เงินลงทุน :   ประมาณ 5,000-10,000 บาท
                          แหล่งจำหน่ายอุปกรณ์ :   จังหวัดลำพูน เชียงใหม่ ชัยนาท จันทบุรี กาญจนบุรี
                          อุปกรณ์ :   ไม้ไผ่ มีดขนาดต่างๆ เช่น มีดสำหรับผ่า มีดจักตอก ฯลฯ สว่านแบบมือหมุน เลื่อย ปากคีบ แบบหุ่น
                          รายได้ :   ประมาณ 8,000-15,000 บาท/เดือน
                          วิธีดำเนินการ :
                          1. หาแหล่งที่จะซื้อไม้ไผ่ที่แปรรูปแล้วและยังไม่แปรรูป
                          2. ควรได้ศึกษาถึงชนิดการใช้งานของไม้ไผ่ชนิดต่างๆ เนื่องจากไม้ไผ่แต่ละชนิดมีคุณลักษณะแตกต่างกัน เช่น
                          - ไผ่สีสุก มีเนื้อหนา เหนียวทนทาน จึงเหมาะที่จะนำไปทำเครื่องจักสานประเภทเฟอร์นิเจอร์ เครื่องมือประมง
                          - ไผ่นวล มีเนื้ออ่อนค่อนข้างเหนียว เหมาะที่จะนำไปทำเครื่องจักสานชนิดที่ต้องการความละเอียด เนื่องจากสามารถจักตอกให้เป็นเส้นเล็กบางได้
                          - ไผ่รวกดำ ลำต้นแข็งแรงทนทาน ใช้ทำโครงร่ม โครงพัดสานเข่ง
                          - ไผ่ข้าวหลาม เป็นไผ่เนื้อค่อนข้างบางใช้ทำกระบอกข้าวหลาม เครื่องจักสาน
                          - ไผ่เฮี๊ยะ เป็นไม้ไผ่ขนาดกลาง ใช้ทำเครื่องจักสาน โครงสร้างอาคาร
                          pai-product01
                          3. เตรียมไม้ไผ่เพื่อนำมาจักสาน ควรเป็นไผ่ที่มีอายุ 2-4 ปี ซึ่งเนื้อไม้จะมีความเหนียวกำลังดี ไม่แก่หรืออ่อนเกินไปและต้องเลือกดูไม้ที่ไม่มีแมลง แต่อย่างไรก็ดีควรจะต้มหรือผ่าน กรรมวิธีป้องกันเชื้อราและมอดเสียก่อน (ไม้ไผ่ที่นิยมนำมาใช้ในการจักสาน ได้แก่ ไผ่เลี้ยง ไผ่สีสุก ไผ่เฮี๊ยะ ไผ่ลำมะลอก ไผ่รวก เป็นต้น) จากนั้นจึงนำไปตัด ซึ่งต้องตัดให้มีความยาวตามขนาดผลิตภัณฑ์ที่จะสาน แล้วนำไปริดข้อ ซึ่งต้องระวังอย่าริดให้ลึกจนเกิดรอยแผลที่ผิวไม้ไผ่ และขั้นตอนสุดท้าย คือ ขูดผิวไม้ไผ่ เพื่อการย้อม/ทาสี หลังจากขูดแล้วใช้กระดาษทรายเบอร์ 0 ขัดให้เรียบร้อยอีกครั้งหนึ่ง
                          4. การย้อมและการทาสีไม้ไผ่เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะทำให้เครื่องจักสานดูสวยงาม น่าใช้ ซึ่งก่อนที่จะทำการย้อมสี จะต้องเอาน้ำมันออกจากเนื้อไม้เสียก่อน โดยการต้มไม้ไผ่ในน้ำโซดาไฟ หรือโซเดียมคาร์บอเนต ขนาด 0.2% นานประมาณ 3-4 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด และอบให้แห้งสนิท จากนั้นนำไม้ไผ่ลงต้มกับสีที่ ละลายน้ำแล้ว ประมาณ 20-60 นาที อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส ซึ่งขั้นตอนค่อนข้างยุ่งยาก ดังนั้น จึงนิยมใช้วิธีทาสีด้วยสีน้ำมันแลคเกอร์หรือน้ำมันวานิชแทน
                          5. ติดต่อหาตลาดจำหน่าย ซึ่งโดยปกติจะมีพ่อค้ามารับซื้อถึงบ้าน หรือบางครั้งจะรับสั่งทำตามที่ลูกค้าต้องการ หรืออาจจะนำไปขายเองก็ได้
                          6. ปรับปรุงและพัฒนารูปแบบของเครื่องจักสานให้ทันสมัย เป็นที่ถูกตาต้องใจของลูกค้าทุกวัย เพราะบางครั้งลูกค้าซึ่งมีความเข้าใจว่าเครื่องจักสานเป็นสินค้าที่เหมาะกับผู้สูงอายุเท่านั้น
                          pai-product02
                          สถานที่ฝึกอบรม :
                          1. สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โทร. 02-245-2655, 245-4741
                          2. ในส่วนภูมิภาคที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม 11 ศูนย์ ดังนี้ เชียงใหม่ พิษณุโลก พิจิตร อุดรธานี ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ ชลบุรีสุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี สงขลา
                          3. อุตสาหกรรมจังหวัด (ส่วนส่งเสริมอุตสาหกรรม) ทุกจังหวัด
                          ข้อแนะนำ :    การย้อมสีให้ติดดีนั้น ให้ขูดผิวไม้ไผ่อย่างแผ่ว ๆ ด้วยมีดเสียก่อน และถ้าจะให้สีเด่นให้นำไม้ไผ่ลงแช่ในกรดแทนนิคแอซิค ชนิด 4-6 เป็นเวลา 3 ชั่วโมง หรือแช่ในน้ำยาทา อีเมติค ชนิด 1-2 เป็นเวลา 30 นาที                                                                                                     

                        3.การประดิษฐ์ดอกไม้จากพลาสติกเหลือใช้ด้วยโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

                        ชื่องานวิจัย                การประดิษฐ์ดอกไม้จากพลาสติกเหลือใช้ด้วยโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่  4
                        ชื่อผู้วิจัย                    ชนิดา  พาประจง
                        สถานที่ศึกษา             โรงเรียนคงชัยสิทธิ์วิทยา  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1
                        ปีที่พิมพ์                      2551

                         บทคัดย่อ                   พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พุทธศักราช  2542  ให้สถานศึกษามีหน้าที่ปรับปรุงกลุ่มสาระการเรียนรู้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชนและสังคม    ให้หลักสูตรสอดคล้องกับสภาพปัญหาที่แท้จริงของท้องถิ่น  การจัดการพัฒนาแผนการเรียนรู้    เรื่อง  การประดิษฐ์ดอกไม้จากพลาสติกเหลือใช้ด้วยโครงงาน  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  เพื่อพัฒนาแผนการเรียนรู้  เรื่องประดิษฐ์ดอกไม้จากพลาสติกเหลือใช้ด้วยโครงงาน  ให้สอดคล้องกับสภาพจริงของชุมชนและท้องถิ่น  แผนการจัด    การเรียนรู้ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าพัฒนาขึ้น  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า  คือ  ผู้เรียนชั้นประถมศึกษา  ปีที่ 4  โรงเรียนคงชัยสิทธิ์วิทยา  ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2551  จำนวน 15 คน  ได้มาแบบเจาะจง  (Purposive Sampling)  เครื่องมือที่ใช้คือ  แผนการจัดการเรียนรู้  เรื่อง  การประดิษฐ์ดอกไม้จากพลาสติกเหลือใช้ด้วยโครงงาน  เอกสารประกอบการเรียนรู้การประดิษฐ์ดอกไม้จากพลาสติกด้วยโครงงาน  แบบวัดประสิทธิภาพการเรียนรู้  ระหว่างเรียน  แบบวัดสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนรู้ก่อนเรียน        หลังเรียน  และแบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้
                                        การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานด้วย  t - test  (Dependent Sample)  ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า
                                        1.   การวัดผลหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้  จำนวน  10  แผน  เรื่อง  การประดิษฐ์ดอกไม้จากพลาสติกเหลือใช้ด้วยโครงงาน  (E1)  เท่ากับร้อยละ  87.13  ของคะแนนเต็ม  ดังนั้นประสิทธิภาพของกระบวนของสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ร้อยละ  80.00
                                        2.   การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เรื่อง  การประดิษฐ์ดอกไม้จากพลาสติกเหลือใช้     ด้วยโครงงาน  จำนวน  20  ข้อ  20  คะแนน (E2)   ผู้เรียนสามารถทำคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ  17.53    คิดเป็น  ร้อยละ  87.66  ของคะแนนเต็ม  สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งเอาไว้ร้อยละ  80.00
                                        3.   ผลการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน  โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้   เรื่อง  การประดิษฐ์ดอกไม้จากพลาสติกเหลือใช้ด้วยโครงงาน  พบว่า  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน   ก่อนเรียน  ค่าเฉลี่ยอยู่ที่  10.40  และคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เพื่อทดสอบหลังเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่  17.53  ค่าเฉลี่ยหลังเรียนเพิ่มขึ้นเท่ากับ  7.13  คะแนน  หรือผู้เรียนมีประสิทธิผล     การเรียนเท่ากับ  0.7432  หรือมีความรู้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ  74.32
                                        4.   ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  ที่มีต่อแผนการจัด   การเรียนรู้  เรื่อง  การประดิษฐ์ดอกไม้จากพลาสติกเหลือใช้ด้วยโครงงานอยู่ในระดับพอใจมาก  (  = 4.24)  โดยสรุป  แผนพัฒนาการเรียนรู้  เรื่อง  การประดิษฐ์ดอกไม้จากพลาสติกเหลือใช้ ด้วยโครงงาน  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  ที่ผ่านการประเมินโดยคณะผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับดีที่สุด  และจากการทดลองใช้โดยผู้ศึกษาค้นคว้า  พบว่า  เป็นแผนพัฒนาการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ      ตามเกณฑ์และสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้บรรลุจุดมุ่งหมายได้ตามที่ตั้งเอาไว้

                        เกษตรทฤษฎีใหม่

                        เกษตรทฤษฎีใหม่
                                            เป็นทฤษฎีแห่งการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการบริหารงานในการทำการเกษตรที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช มหาราช ทรงพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย เพื่อแก้ไขปัญหาการเกษตร โดยการแบ่งพื้นที่การเกษตรออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่หนึ่งขุดสระกักเก็บน้ำ จำนวน 30% ของพื้นที่ ส่วนที่สอง ปลูกข้าว จำนวน 30% ของพื้นที่ ส่วนที่สาม ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้นและส่วนที่สี่ เป็นพื้นที่ที่ใช้สร้างสิ่งปลูกสร้างเช่น ที่อยู่อาศัย โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ ฉาง จำนวน 10% ของพื้นที่ จำนวนสัดส่วนของพื้นที่นี้ทั้งหมดสามารถปรับเพิ่มหรือลด ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสภาพพื้นที่แต่ละแห่ง เช่นครอบครัวหนึ่งมีสมาชิกจำนวน 4 คน พื้นที่มีแหล่งน้ำใช้ได้ตลอดทั้งปี แต่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำก็ควรปรับลดพื้นที่ขุดสระ และเพิ่มพื้นที่นาข้าวเพื่อให้มีข้าวบริโภคเพียงพอตลอดทั้งปี


                          พื้นที่ส่วนที่หนึ่ง จำนวน 3.6 ไร่ ขุดสระกักเก็บน้ำจำนวน 2 สระ สามารถกักเก็บน้ำ
                        ได้รวม 10,455 ลูกบาศก์เมตร เพียงพอต่อการนำน้ำมาใช้ในการทำการเกษตรได้ทั้งปี
                        แต่การ
                        ผันน้ำมาใช้นั้น ยังคงต้องใช้เครื่องจักรกลในการสูบน้ำมาใช้ ทำให้สูญเสียพลังงาน
                        เชื้อเพลิง
                        จำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ถ้าสามารถลดการใช้พลังงานลงได้หรือ 
                        หาพลังงาน   เชื้อเพลิงอื่นทดแทน หรือมีการวางแผนการใช้น้ำ เช่น หากพื้นที่มีระดับที่ต่างกันมาก สามารถวางท่อนำน้ำออกมาใช้โดยไม่ต้องใช้เครื่องสูบน้ำและน้ำมัน
                        เป็นการจัดการทำให้
                        ต้นทุนการเกษตรลดลงได้ในระยะยาว

                         
                                พื้นที่ส่วนที่สอง 3.6 ไร่ (30%) ใช้ปลูกข้าว ดำเนินการในปี 2547 เตรียมดิน หว่านกล้าและปักดำโดยใช้ข้าวจ้าวหอมมะลิ 105 จำนวน 40 กิโลกรัม ทำการกำจัดวัชพืชในนาข้าว โดยการถอน ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16 – 20 – 0 จำนวน 30 กิโลกรัมและปุ๋ยเคมีสูตร 40 – 0 – 0 จำนวน 30 กิโลกรัม


                              พื้นที่ส่วนที่สาม 3.6 ไร่ (30%) ปลูกพืชแบบผสมผสาน โดยแบ่งพื้นที่ปลูกดังนี้
                                                     
                        1. พื้นที่จำนวน 2 ไร่ ปลูกมะม่วงพันธุ์โชคอนันต์ จำนวน 50 ต้น
                        2. พื้นที่จำนวน 0.5 ไร่ ปลูกกล้วยน้ำหว้า จำนวน 60 ต้น
                        3. พื้นที่จำนวน 0.5 ไร่ ปลูกพืชผัก จำนวน 20 แปลง
                        4. พื้นที่จำนวน 0.6 ไร่ ปลูกไม้ใช้สอย อาทิเช่น
                        ต้นสัก จำนวน 30 ต้น
                        ต้นยูคาลิปตัส จำนวน 80 ต้น
                        ต้นไผ่รวก จำนวน 10 ต้น
                        ต้นไผ่ตง จำนวน 5 ต้น
                        ต้นหวาย จำนวน 30 ต้น

                            
                           พื้นที่ส่วนที่สี่ 1.2 ไร่ (10%) เป็นพื้นที่สร้างที่อยู่อาศัยและคอกสัตว์
                        1. สร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่ จำนวน 1 หลังขนาด 3*4 เมตร เลี้ยงไก่แล้ว 3 รุ่น จำนวน 200 ตัว คัดไว้เป็นพ่อพันธุ์ จำนวน 2 ตัวและแม่พันธุ์ จำนวน 10 ตัว



                        2. สร้างโรงเรือนเลี้ยงเป็ดจำนวน 1 หลัง ขนาด 3*4 เมตร ใช้เลี้ยงเป็ด 3 รุ่น จำนวน 129 ตัว คัดไว้เป็นพ่อพันธุ์ จำนวน 2 ตัวและแม่พันธุ์ จำนวน 10 ตัว



                        3. สร้างโรงเรือนสุกร จำนวน 1 หลัง ขนาด 3.5*19.5 เมตร ดำเนินการเลี้ยงสุกรจำนวน 20 ตัว



                        4. สร้างศาลาถ่ายทอดเทคโนโลยี จำนวน 1 หลัง ขนาด 3.5*10.5 เมตร ใช้เป็นพื้นที่แสดงและถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป



                        เศรษฐกิจแบบพอเพียง

                        เศรษฐกิจแบบพอเพียง
                        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าพระราชหฤทัยในความเป็นไปของเมืองไทยและคนไทยอย่างลึกซึ้งและกว้างไกล ได้ทรงวางรากฐานในการพัฒนาชนบท และช่วยเหลือประชาชนให้สามารถพึ่งตนเองได้มีความ " พออยู่พอกิน" และมีความอิสระที่จะอยู่ได้โดยไม่ต้องติดยึดอยู่กับเทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์ ทรงวิเคราะห์ว่าหากประชาชนพึ่งตนเองได้แล้วก็จะมีส่วนช่วยเหลือเสริมสร้างประเทศชาติโดยส่วนรวมได้ในที่สุด พระราชดำรัสที่สะท้อนถึงพระวิสัยทัศน์ในการสร้างความเข้มแข็งในตนเองของประชาชนและสามารถทำมาหากินให้พออยู่พอกินได้ ดังนี้
                        "….ในการสร้างถนน สร้างชลประทานให้ประชาชนใช้นั้น จะต้องช่วยประชาชนในทางบุคคลหรือพัฒนาให้บุคคลมีความรู้และอนามัยแข็งแรง ด้วยการให้การศึกษาและการรักษาอนามัย เพื่อให้ประชาชนในท้องที่สามารถทำการเกษตรได้ และค้าขายได้…"
                                  ในสภาวการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเกิดความถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงขึ้นนี้จึงทำให้เกิดความเข้าใจได้ชัดเจนในแนวพระราชดำริของ  "เศรษฐกิจพอเพียง"  ซึ่งได้ทรงคิดและตระหนักมาช้านาน  เพราะหากเราไม่ไปพี่งพา ยึดติดอยู่กับกระแสจากภายนอกมากเกินไป  จนได้ครอบงำความคิดในลักษณะดั้งเดิมแบบไทยๆไปหมด มีแต่ความทะเยอทะยานบนรากฐานที่ไม่มั่นคงเหมือนลักษณะฟองสบู่  วิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้อาจไม่เกิดขึ้น หรือไม่หนักหนาสาหัสจนเกิดความเดือดร้อนกันถ้วนทั่วเช่นนี้   ดังนั้น "เศรษฐกิจพอเพียง"  จึงได้สื่อความหมาย ความสำคัญในฐานะเป็นหลักการสังคมที่พึงยึดถือ
                                  ในทางปฏิบัติจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงคือ   การฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่น เศรษฐกิจพอเพียงเป็นทั้งหลักการและกระบวนการทางสังคม  ตั้งแต่ขั้นฟื้นฟูและขยายเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืน  เป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตและบริโภคอย่างพออยู่พอกินขึ้นไปถึงขั้นแปรรูปอุตสาหกรรมครัวเรือน สร้างอาชีพและทักษะวิชาการที่หลากหลายเกิดตลาดซื้อขาย สะสมทุน  ฯลฯ  บนพื้นฐานเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนนี้  เศรษฐกิจของ 3 ชาติ จะพัฒนาขึ้นมาอย่างมั่นคงทั้งในด้านกำลังทุนและตลาดภายในประเทศ รวมทั้งเทคโนโลยีซึ่งจะค่อยๆ พัฒนาขึ้นมาจากฐานทรัพยากรและภูมิปัญญาที่มีอยู่ภายในชาติ และทั้งที่จะพึงคัดสรรเรียนรู้จากโลกภายนอก
                                  เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจที่พอเพียงกับตัวเอง ทำให้อยู่ได้ ไม่ต้องเดือดร้อน มีสิ่งจำเป็นที่ทำได้โดยตัวเองไม่ต้องแข่งขันกับใคร และมีเหลือเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ไม่มี อันนำไปสู่การแลกเปลี่ยนในชุมชน และขยายไปจนสามารถที่จะเป็นสินค้าส่งออก เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจระบบเปิดที่เริ่มจากตนเองและความร่วมมือ วิธีการเช่นนี้จะดึงศักยภาพของ ประชากรออกมาสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว ซึ่งมีความผู้พันกับ “จิตวิญญาณ” คือ “คุณค่า” มากกว่า “มูลค่า”

                                  ในระบบเศรษฐกิจพอเพียงจะจัดลำดับความสำคัญของ “คุณค่า” มากกว่า “มูลค่า” มูลค่านั้นขาดจิตวิญญาณ เพราะเป็นเศรษฐกิจภาคการเงิน ที่เน้นที่จะตอบสนองต่อความต้องการที่ไม่จำกัดซึ่งไร้ขอบเขต ถ้าไม่สามารถควบคุมได้การใช้ทรัพยากรอย่างทำลายล้างจะรวดเร็วขึ้นและปัญหาจะตามมา เป็นการบริโภคที่ก่อให้เกิดความทุกข์หรือพาไปหาความทุกข์ และจะไม่มีโอกาสบรรลุวัตถุประสงค์ในการบริโภค ที่จะก่อให้ความพอใจและความสุข (Maximization of Satisfaction) ผู้บริโภคต้องใช้หลักขาดทุนคือกำไร (Our loss is our gain) อย่างนี้จะควบคุมความต้องการที่ไม่จำกัดได้ และสามารถจะลดความต้องการลงมาได้ ก่อให้เกิดความพอใจและความสุขเท่ากับได้ตระหนักในเรื่อง “คุณค่า” จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้ ไม่ต้องไปหาวิธีทำลายทรัพยากรเพื่อให้เกิดรายได้มาจัดสรรสิ่งที่เป็น “ความอยากที่ไม่มีที่สิ้นสุด” และขจัดความสำคัญของ “เงิน” ในรูปรายได้ที่เป็นตัวกำหนดการบริโภคลงได้ระดับหนึ่ง แล้วยังเป็นตัวแปรที่ไปลดภาระของกลไกของตลาดและการพึ่งพิงกลไกของตลาด ซึ่งบุคคลโดยทั่วไปไม่สามารถจะควบคุมได้ รวมทั้งได้มีส่วนในการป้องกันการบริโภคเลียนแบบ (Demonstration Effects) จะไม่ทำให้เกิดการสูญเสีย จะทำให้ไม่เกิดการบริโภคเกิน (Over Consumption) ซึ่งก่อให้เกิดสภาพเศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน

                                  การบริโภคที่ฉลาดดังกล่าวจะช่วยป้องกันการขาดแคลน แม้จะไม่ร่ำรวยรวดเร็ว แต่ในยามปกติก็จะทำให้ร่ำรวยมากขึ้น ในยามทุกข์ภัยก็ไม่ขาดแคลน และสามารถจะฟื้นตัวได้เร็วกว่า โดยไม่ต้องหวังความช่วยเหลือจากผู้อื่นมากเกินไป เพราะฉะนั้นความพอมีพอกินจะสามารถอุ้มชูตัวได้ ทำให้เกิดความเข้มแข็ง และความพอเพียงนั้นไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวต้องผลิตอาหารของตัวเอง จะต้องทอผ้าใส่เอง แต่มีการแลกเปลี่ยนกันได้ระหว่างหมู่บ้าน เมือง และแม้กระทั่งระหว่างประเทศ ที่สำคัญคือการบริโภคนั้นจะทำให้เกิดความรู้ที่จะอยู่ร่วมกับระบบ รักธรรมชาติ ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง เพราะไม่ต้องทิ้งถิ่นไปหางานทำ เพื่อหารายได้มาเพื่อการบริโภคที่ไม่เพียงพอ

                                  ประเทศไทยอุดมไปด้วยทรัพยากรและยังมีพอสำหรับประชาชนไทยถ้ามีการจัดสรรที่ดี โดยยึด " คุณค่า " มากกว่า " มูลค่า " ยึดความสัมพันธ์ของ “บุคคล” กับ “ระบบ” และปรับความต้องการที่ไม่จำกัดลงมาให้ได้ตามหลักขาดทุนเพื่อกำไร และอาศัยความร่วมมือเพื่อให้เกิดครอบครัวที่เข้มแข็งอันเป็นรากฐานที่สำคัญของระบบสังคม

                                  การผลิตจะเสียค่าใช้จ่ายลดลงถ้ารู้จักนำเอาสิ่งที่มีอยู่ในขบวนการธรรมชาติมาปรุงแต่ง ตามแนวพระราชดำริในเรื่องต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วซึ่งสรุปเป็นคำพูดที่เหมาะสมตามที่ ฯพณฯ พลเอกเปรม ตินณสูลานนท์ ที่ว่า “…ทรงปลูกแผ่นดิน ปลูกความสุข ปลดความทุกข์ของราษฎร” ในการผลิตนั้นจะต้องทำด้วยความรอบคอบไม่เห็นแก่ได้ จะต้องคิดถึงปัจจัยที่มีและประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้อง มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาอย่างเช่นบางคนมีโอกาสทำโครงการแต่ไม่ได้คำนึงว่าปัจจัยต่าง ๆ ไม่ครบ ปัจจัยหนึ่งคือขนาดของโรงงาน หรือเครื่องจักรที่สามารถที่จะปฏิบัติได้ แต่ข้อสำคัญที่สุด คือวัตถุดิบ ถ้าไม่สามารถที่จะให้ค่าตอบแทนวัตถุดิบแก่เกษตรกรที่เหมาะสม เกษตรกรก็จะไม่ผลิต ยิ่งถ้าใช้วัตถุดิบสำหรับใช้ในโรงงานั้น เป็นวัตถุดิบที่จะต้องนำมาจากระยะไกล หรือนำเข้าก็จะยิ่งยาก เพราะว่าวัตถุดิบที่นำเข้านั้นราคายิ่งแพง บางปีวัตถุดิบมีบริบูรณ์ ราคาอาจจะต่ำลงมา แต่เวลาจะขายสิ่งของที่ผลิตจากโรงงานก็ขายยากเหมือนกัน เพราะมีมากจึงทำให้ราคาตก หรือกรณีใช้เทคโนโลยีทางการเกษตร เกษตรกรรู้ดีว่าเทคโนโลยีทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น และผลผลิตที่เพิ่มนั้นจะล้นตลาด ขายได้ในราคาที่ลดลง ทำให้ขาดทุน ต้องเป็นหนี้สิน


                                  การผลิตตามทฤษฎีใหม่สามารถเป็นต้นแบบการคิดในการผลิตที่ดีได้ ดังนี้

                                  1. การผลิตนั้นมุ่งใช้เป็นอาหารประจำวันของครอบครัว เพื่อให้มีพอเพียงในการบริโภคตลอดปี เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันและเพื่อจำหน่าย
                                  2. การผลิตต้องอาศัยปัจจัยในการผลิต ซึ่งจะต้องเตรียมให้พร้อม เช่น การเกษตรต้องมีน้ำ การจัดให้มีและดูแหล่งน้ำ จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งการผลิต และประโยชน์ใช้สอยอื่น ๆ
                                  3. ปัจจัยประกอบอื่น ๆ ที่จะอำนวยให้การผลิตดำเนินไปด้วยดี และเกิดประโยชน์เชื่อมโยง (Linkage) ที่จะไปเสริมให้เกิดความยั่งยืนในการผลิต จะต้องร่วมมือกันทุกฝ่ายทั้ง เกษตรกร ธุรกิจ ภาครัฐ ภาคเอกชน เพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับเศรษฐกิจการค้า และให้ดำเนินกิจการควบคู่ไปด้วยกันได้

                                  การผลิตจะต้องตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่าง “บุคคล” กับ “ระบบ” การผลิตนั้นต้องยึดมั่นในเรื่องของ “คุณค่า” ให้มากกว่า “มูลค่า” ดังพระราชดำรัส ซึ่งได้นำเสนอมาก่อนหน้านี้ที่ว่า

                                  “…บารมีนั้น คือ ทำความดี เปรียบเทียบกับธนาคาร …ถ้าเราสะสมเงินให้มากเราก็สามารถที่จะใช้ดอกเบี้ย ใช้เงินที่เป็นดอกเบี้ย โดยไม่แตะต้องทุนแต่ถ้าเราใช้มากเกิดไป หรือเราไม่ระวัง เรากิน เข้าไปในทุน ทุนมันก็น้อยลง ๆ จนหมด …ไปเบิกเกินบัญชีเขาก็ต้องเอาเรื่อง ฟ้องเราให้ล้มละลาย เราอย่าไปเบิกเกินบารมีที่บ้านเมือง ที่ประเทศได้สร้างสมเอาไว้ตั้งแต่บรรพบุรุษของเราให้เกินไป เราต้องทำบ้าง หรือเพิ่มพูนให้ประเทศของเราปกติมีอนาคตที่มั่นคง บรรพบุรุษของเราแต่โบราณกาล ได้สร้างบ้านเมืองมาจนถึงเราแล้ว ในสมัยนี้ที่เรากำลังเสียขวัญ กลัว จะได้ไม่ต้องกลัว ถ้าเราไม่รักษาไว้…”

                                  การจัดสรรทรัพยากรมาใช้เพื่อการผลิตที่คำนึงถึง “คุณค่า” มากกว่า “มูลค่า” จะก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่าง “บุคคล” กับ “ระบบ” เป็นไปอย่างยั่งยืน ไม่ทำลายทั้งทุนสังคมและทุนเศรษฐกิจ นอกจากนี้จะต้องไม่ติดตำรา สร้างความรู้ รัก สามัคคี และความร่วมมือร่วมแรงใจ มองกาลไกลและมีระบบสนับสนุนที่เป็นไปได้

                                  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปลูกฝังแนวพระราชดำริให้ประชาชนยอมรับไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง โดยให้วงจรการพัฒนาดำเนินไปตามครรลองธรรมชาติ กล่าวคือ

                                  ทรงสร้างความตระหนักแก่ประชาชนให้รับรู้ (Awareness) ในทุกคราเมื่อ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมประชาชนในทุกภูมิภาคต่าง ๆ จะทรงมีพระราชปฏิสันถารให้ประชาชนได้รับทราบถึงสิ่งที่ควรรู้ เช่น การปลูกหญ้าแฝกจะช่วยป้องกันดินพังทลาย และใช้ปุ๋ยธรรมชาติจะช่วยประหยัดและบำรุงดิน การแก้ไขดินเปรี้ยวในภาคใต้สามารถกระทำได้ การ ตัดไม้ทำลายป่าจะทำให้ฝนแล้ง เป็นต้น ตัวอย่างพระราชดำรัสที่เกี่ยวกับการสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชน ได้แก่

                                  “….ประเทศไทยนี้เป็นที่ที่เหมาะมากในการตั้งถิ่นฐาน แต่ว่าต้องรักษาไว้ ไม่ทำให้ประเทศไทยเป็นสวนเป็นนากลายเป็นทะเลทราย ก็ป้องกัน ทำได้….”

                                  ทรงสร้างความสนใจแก่ประชาชน (Interest) หลายท่านคงได้ยินหรือรับฟัง โครงการอันเนื่อง มาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีนามเรียกขานแปลกหู ชวนฉงน น่าสนใจติดตามอยู่เสมอ เช่น โครงการแก้มลิง โครงการแกล้งดิน โครงการเส้นทางเกลือ โครงการน้ำดีไล่น้ำเสีย หรือโครงการน้ำสามรส ฯลฯ เหล่านี้ เป็นต้น ล้วนเชิญชวนให้ ติดตามอย่างใกล้ชิด แต่พระองค์ก็จะมีพระราชาธิบายแต่ละโครงการอย่างละเอียด เป็นที่เข้าใจง่ายรวดเร็วแก่ประชาชนทั้งประเทศ

                                  ในประการต่อมา ทรงให้เวลาในการประเมินค่าหรือประเมินผล (Evaluate) ด้วยการศึกษาหาข้อมูลต่าง ๆ ว่าโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระองค์นั้นเป็นอย่างไร สามารถนำไปปฏิบัติได้ในส่วนของตนเองหรือไม่ ซึ่งยังคงยึดแนวทางที่ให้ประชาชนเลือกการพัฒนาด้วยตนเอง ที่ว่า
                                  “….ขอให้ถือว่าการงานที่จะทำนั้นต้องการเวลา เป็นงานที่มีผู้ดำเนินมาก่อนแล้ว ท่านเป็นผู้ที่จะเข้าไปเสริมกำลัง จึงต้องมีความอดทนที่จะเข้าไปร่วมมือกับผู้อื่น ต้องปรองดองกับเขาให้ได้ แม้เห็นว่ามีจุดหนึ่งจุดใดต้องแก้ไขปรับปรุงก็ต้องค่อยพยายามแก้ไขไปตามที่ถูกที่ควร….”

                                  ในขั้นทดลอง (Trial) เพื่อทดสอบว่างานในพระราชดำริที่ทรงแนะนำนั้นจะได้ผลหรือไม่ซึ่งในบางกรณีหากมีการทดลองไม่แน่ชัดก็ทรงมักจะมิให้เผยแพร่แก่ประชาชน หากมีผลการทดลองจนแน่พระราชหฤทัยแล้วจึงจะออกไปสู่สาธารณชนได้ เช่น ทดลองปลูกหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำนั้น ได้มีการค้นคว้าหาความเหมาะสมและความเป็นไปได้จนทั่วทั้งประเทศว่าดียิ่งจึงนำออกเผยแพร่แก่ประชาชน เป็นต้น

                                  ขั้นยอมรับ (Adoption) โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น เมื่อผ่านกระบวนการมาหลายขั้นตอน บ่ม เพาะ และมีการทดลองมาเป็นเวลานาน ตลอดจนทรงให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริและสถานที่อื่น ๆ เป็นแหล่งสาธิตที่ประชาชนสามารถเข้าไปศึกษาดูได้ถึงตัวอย่างแห่งความสำเร็จ ดังนั้น แนวพระราชดำริของพระองค์จึงเป็นสิ่งที่ราษฎรสามารถพิสูจน์ได้ว่าจะได้รับผลดีต่อชีวิต และความเป็นอยู่ของตนได้อย่างไร

                                  แนวพระราชดำริทั้งหลายดังกล่าวข้างต้นนี้ แสดงถึงพระวิริยะอุตสาหะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทุ่มเทพระสติปัญญา ตรากตรำพระวรกาย เพื่อค้นคว้าหาแนวทางการพัฒนาให้พสกนิกรทั้งหลายได้มีความร่มเย็นเป็นสุขสถาพรยั่งยืนนาน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันใหญ่หลวงที่ได้พระราชทานแก่ปวงไทยตลอดเวลามากกว่า 50 ปี จึงกล่าวได้ว่าพระราชกรณียกิจของพระองค์นั้นสมควรอย่งยิ่งที่ทวยราษฎรจักได้เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท ตามที่ทรงแนะนำ สั่งสอน อบรมและวางแนวทางไว้เพื่อให้เกิดการอยู่ดีมีสุขโดยถ้วนเช่นกัน โดยการพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขึ้นตอนต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตาหลักวิชาการ เพื่อได้พื้นฐานที่มั่นคงพร้อมพอสมควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริม ความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขึ้นที่สูงขึ้นไปตามลำดับ จะก่อให้เกิดความยั่งยืนและจะนำไปสู่ความเข้มแข็งของครอบครัว ชุมชน และสังคม สุดท้ายเศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน

                        ประการที่สำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง
                                  1. พอมีพอกิน ปลูกพืชสวนครัวไว้กินเองบ้าง ปลูกไม้ผลไว้หลังบ้าน 2-3 ต้น พอที่จะมีไว้กินเองในครัวเรือน เหลือจึงขายไป
                                  2. พออยู่พอใช้ ทำให้บ้านน่าอยู่ ปราศจากสารเคมี กลิ่นเหม็น ใช้แต่ของที่เป็นธรรมชาติ (ใช้จุลินทรีย์ผสมน้ำถูพื้นบ้าน จะสะอาดกว่าใช้น้ำยาเคมี) รายจ่ายลดลง สุขภาพจะดีขึ้น (ประหยัดค่ารักษาพยาบาล)
                                  3. พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากใคร่มีเช่นผู้อื่น เพราะเราจะหลงติดกับวัตถุ ปัญญาจะไม่เกิด
                                  " การจะเป็นเสือนั้นมันไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกิน หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง "

                        "เศรษฐกิจพอเพียง" จะสำเร็จได้ด้วย "ความพอดีของตน
                        เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ

                              เศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางปฏิบัติของ ทฤษฎีใหม่ เป็นแนวทางในการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเอง ในระดับต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน โดยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับความผันแปรของธรรมชาติ หรือการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่าง ๆ โดยอาศัยความพอประมาณและความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ ความเพียรและความอดทน สติและปัญญา การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสามัคคี
                             เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการและแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ในขณะที่ แนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรอย่างเป็นขั้นตอนนั้น เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ ที่เป็นรูปธรรมเฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสม
                             ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ อาจเปรียบเทียบกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบพื้นฐานกับแบบก้าวหน้า ได้ดั้งนี้
                             ความพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัวโดยเฉพาะเกษตรกร เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน เทียบได้กับทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ที่มุ่งแก้ปัญหาของเกษตรกรที่อยู่ห่างไกลแหล่งน้ำ ต้องพึ่งน้ำฝนและประสบความเสี่ยงจากการที่น้ำไม่พอเพียง แม้กระทั่งสำหรับการปลูกข้าวเพื่อบริโภค และมีข้อสมมติว่า มีที่ดินพอเพียงในการขุดบ่อเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าวจากการแก้ปัญหาความเสี่ยงเรื่องน้ำ จะทำให้เกษตรกรสามารถมีข้าวเพื่อการบริโภคยังชีพในระดับหนึ่งได้ และใช้ที่ดินส่วนอื่น ๆ สนองความต้องการพื้นฐานของครอบครัว รวมทั้งขายในส่วนที่เหลือเพื่อมีรายได้ที่จะใช้เป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่สามารถผลิตเองได้ ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวให้เกิดขึ้นในระดับครอบครัว
                             อย่างไรก็ตาม แม้กระทั่ง ในทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ก็จำเป็นที่เกษตรกรจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากชุมชนราชการ มูลนิธิ และภาคเอกชน ตามความเหมาะสม
                            ความพอเพียงในระดับชุมชนและระดับองค์กรเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2 เป็นเรื่องของการสนับสนุนให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ หรือการที่ธุรกิจต่าง ๆ รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายวิสาหกิจ
                             กล่าวคือ เมื่อสมาชิกในแต่ละครอบครัวหรือองค์กรต่าง ๆ มีความพอเพียงขั้นพื้นฐานเป็นเบื้องต้นแล้วก็จะรวมกลุ่มกันเพื่อร่วมมือกันสร้างประโยชน์ให้แก่กลุ่มและส่วนรวมบนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนกัน การแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามกำลังและความสามารถของตนซึ่งจะสามารถทำให้ ชุมชนโดยรวมหรือเครือข่ายวิสาหกิจนั้น ๆ เกิดความพอเพียงในวิถีปฏิบัติอย่างแท้จริง
                             ความพอเพียงในระดับประเทศ เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 3 ซึ่งส่งเสริมให้ชุมชนหรือเครือข่ายวิสาหกิจสร้างความร่วมมือกับองค์กรอื่น ๆ ในประเทศ เช่น บริษัทขนาดใหญ่ ธนาคาร สถาบันวิจัย เป็นต้น
                             การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในลักษณะเช่นนี้จะเป็นประโยชน์ในการสืบทอดภูมิปัญญา แลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยี และบทเรียนจากการพัฒนา หรือร่วมมือกันพัฒนา ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ประเทศอันเป็นสังคมใหญ่อันประกอบด้วยชุมชน องค์กร และธุรกิจต่าง ๆ ที่ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงกลายเป็นเครือข่ายชุมชนพอเพียงที่เชื่อมโยงกันด้วยหลัก ไม่เบียดเบียน แบ่งปัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ในที่สุด
                        " … ขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทยพออยู่พอกิน
                        มีความสงบและทำงานตั้งอธิษฐาน ตั้งปณิธาน
                        ในทางนี้ ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพอกิน
                        ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่มีความความพออยู่พอกิน มีความสงบ
                        เปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้
                        เราก็จะยอดยิ่งยวดได้ …
                        ฉะนั้นถ้าทุกท่านซึ่งถือว่าเป็นผู้มีความคิดและมีอิทธิพล
                        มีพลังที่จะทำให้ผู้อื่น ซึ่งมีความคิดเหมือนกัน
                        ช่วยกันรักษาส่วนรวมให้อยู่ดีกินดีพอสมควร ขอย้ำพอควร
                        พออยู่พอกิน มีความสงบ ไม่ให้คนอื่นมาแย่งคุณสมบัตินี้จากเราไปได้
                        ก็จะเป็นของขวัญวันเกิดที่ถาวรที่จะมีคุณค่าอยู่ตลอดกาล "
                        พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนพรรษา 23 ธันวาคม 2542

                        วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

                        เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

                        เทคโนโลยีเพื่อการปฏิรูปการศึกษาโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
                        เมื่อกล่าวถึงการปฏิรูปการเรียนรู้ นับเป็นหัวใจสำคัญของการปฏิรูปการศึกษา เพราะกระบวนการที่สำคัญที่สุดของการศึกษา คือ กระบวนการเรียนรู้ การสอนให้เด็กได้เรียนรู้วิธีการเรียนรู้ จนเขาสามารถสรุปเป็นความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นได้ เป็นการพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง คือ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน ดังนั้น ความสำเร็จของการจัดการศึกษาอยู่ที่ผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งผมคิดว่าเป็นการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนั่นเอง
                        การแก้ไขปัญหาด้านการศึกษาที่หมักหมมมานานจำเป็นต้องใช้หลักการและวิธีการใหม่ๆ จึงจะแก้ไขได้สำเร็จ จากการศึกษาวิเคราะห์ของสำนักงานปฏิรูปการศึกษา (สปศ.) เกี่ยวกับปัญหาการจัดการศึกษาไทย ที่ผ่านมา จะพบปัญหาสำคัญ 6 เรื่อง สรุปได้ ดังต่อไป
                          1. ปัญหาด้านการบริหารจัดการศึกษา มีการบริหารแบบรวมอำนาจไว้ส่วนกลางมากเกินไป มีองค์กรที่มีภารกิจการทำงานที่ซ้ำซ้อน เกิดความล่าช้าในทางปฏิบัติ ขาดความเป็นเอกภาพ ขาดการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นและชุมชน
                          2. ปัญหาด้านครู ไม่มีคนเก่งเข้ามาประกอบอาชีพครู ไม่ได้รับการส่งเสริมความก้าวหน้าในวิชาชีพ ครูขาดขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน
                          3. ปัญหาด้านหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ หลักสูตรระดับต่างๆ ไม่สอดคล้องกับชีวิตจริงในชุมชน และก้าวไม่ทันกับความเปลี่ยนแปลงทางบริบทของสังคม
                          4. ปัญหาด้านการจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษา มีระบบการจัดสรรงบประมาณที่ด้อยประสิทธิภาพแม้ว่าจะได้รับงบประมาณจัดสรรมากกว่าประเทศเพื่อนบ้านก็ตาม
                          5. ปัญหาด้านสื่อและเทคโนโลยี ปัจจุบัน แม้จะมีเทคโนโลยีต่างๆ พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว แต่สื่อต่างๆ กลับมีบทบาทในการส่งเสริมการเรียนรู้ที่น้อยมากและไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
                          6. ปัญหาด้านระบบตรวจสอบและประเมินประสิทธิภาพ ที่ผ่านมาเป็นเพียงการประเมินตามนโยบาย ขาดการนิเทศให้คำแนะนำเพื่อให้เกิดการพัฒนาในการดำเนินงาน
                        จากปัญหาต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นนั้น จึงได้เกิดเป็นพลังขับเคลื่อนทางสังคมครั้งสำคัญเพื่อผลักดันให้มีการปฏิรูปการศึกษาของไทยจากกลุ่มคนทุกฝ่ายที่มีส่วนรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษาของชาติ บังเกิดเป็นกฎหมายการศึกษาเพื่อเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างและพัฒนาการจัดการศึกษาของไทยภายใต้นัยแห่งเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 นั่นคือ “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542” ซึ่งประกาศใช้ตั้งแต่ 19 สิงหาคม 2542 เป็นต้นมา
                        การใช้เทคโนโลยีเพื่อการปฏิรูปการศึกษา
                        กระแสแห่งการปรับเปลี่ยนครั้งสำคัญของไทยในยุคแห่งความเป็นโลกาภิวัฒน์ (Globalization) โดยเฉพาะในด้านการจัดการศึกษาเพื่อการกำหนดยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์ให้ก้าวทันสังคมโลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วนั้น คือกระแสของ “การปฏิรูปการศึกษา (Educational Reform) นั่นเอง ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นการปรับรื้อระบบบริหารจัดการด้านการศึกษาครั้งสำคัญของสังคมไทย เป็นยุทธศาสตร์ทางภูมิปัญญาเพื่อการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของระบบการศึกษาของชาติให้ผ่านพ้นวิกฤตการณ์ทางสังคมที่หลากหลายและรุนแรง สามารถพัฒนาการศึกษาให้ก้าวทันกับความเปลี่ยนแปลงในสังคมโลกในปัจจุบันสื่อและเทคโนโลยีเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกระดับและทุกระบบของการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัยที่ปรากฏในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในหลายหมวดและหลายมาตราด้วยกัน และที่สำคัญ การปฏิรูปการศึกษานั้นต้องมุ่งเน้นที่ตัวผู้เรียนเป็นสำคัญให้เกิดการพัฒนาตามศักยภาพความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละบุคคลในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวดที่ 9 ได้กล่าวถึงเรื่องเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (มาตรา 63-69) ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ของการใช้เทคโนโลยีเพื่อปฏิรูปการศึกษาในรูปแบบใหม่ที่มีความครอบคลุม กว้างขวาง และมีความเป็นเอกภาพ ทั้งการสนับสนุนปัจจัยพื้นฐาน การจัดตั้งกองทุน การสร้างมาตรฐานทางเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการปรับใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ของผู้เรียนให้บังเกิดประสิทธิภาพสูงสุดกล่าวกันว่าการปฏิรูปเทคโนโลยีเพื่อการศึกษานั้นจะต้องเป็นกระบวนการที่ดำเนินไปอย่างเป็นระบบขั้นตอนมีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน ครอบคลุมกระบวนการจัดการศึกษาทั้งระบบ การปฏิรูปเทคโนโลยีการศึกษาทั้งระบบสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้

                          จากที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นจะเห็นได้ว่า การปฏิรูปการศึกษาเป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่จะพัฒนาระบบการศึกษาไทยให้ก้าวทันกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้ โดยดำเนินงานตามที่กำหนดเป็นกฎหมายการศึกษาของชาติ ทั้งนี้ “เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา” จะเป็นศาสตร์สำคัญแขนงหนึ่งของการปฏิรูปที่จะช่วยปรับปรุง พัฒนา และยกระดับมาตรฐานการศึกษาของชาติให้บังเกิดคุณภาพและประสิทธิภาพได้ การปฏิรูปการศึกษาโดยอาศัยเทคโนโลยีเป็นฐานสำคัญของการปรับเปลี่ยนต้องส่งผลโดยตรงไปสู่ผู้เรียนเป็นสำคัญ ในการจัดการศึกษาต้องตระหนักและช่วยกันขับเคลื่อนกระบวนการปฏิรูปการศึกษา โดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานให้ก้าวสู่เป้าหมายโดยรวมได้ในอนาคต โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

                        1. การปฏิรูปความคิดของบุคลากร สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ความคิดของผู้บริหาร ผู้ผลิตและเผยแพร่ ต้องได้รับการปฏิรูปความคิดเป็นเบื้องต้น เพราะบุคลากรเหล่านี่จะเป็นกลุ่มสำคัญของการนำเอาเทคโนโลยีไปสู่การปฏิบัติจริงในสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ หากบุคลากรไม่สนใจ ไม่ยอมรับเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลง เกิดทัศนคติเชิงลบแล้ว การปฏิรูปเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจะบังเกิดขึ้นได้ยากและขาดประสิทธิภาพ

                        2. การปฏิรูปการผลิต เนื่องจากเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเป็นเรื่องเกี่ยวกับสื่อวัสดุอุปกรณ์และโปรแกรมการเรียนรู้ต่างๆ ที่ถูกผลิตหรือสร้างขึ้นมาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งจะต้องมีการสำรวจความต้องการของผู้ใช้เป็นเบื้องต้น เพื่อให้ผลผลิตที่ออกมาตรงกับวัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมาย ใช้ประโยชน์ได้จริง มีกระบวนการผลิตที่สั้น กระชับ พร้อมทั้งพัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือให้ทันสมัย ทำให้สื่อการศึกษามีทั้งคุณภาพและประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการเรียนรู้

                        3. การปฏิรูปการเผยแพร่ ต้องมีการประชาสัมพันธ์และนำกลุ่มเป้าหมายให้รับรู้ข่าวสาระที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้ทั่วถึงและหลากหลาย เป็นระบบการเผยแพร่ที่เป็นระบบเปิด กลุ่มเป้าหมายและประชาชนทั่วไปสามารถรับรู้จากสื่อได้โดยตรง กว้างขวาง และที่สำคัญ ต้องคำนึงถึงศักยภาพผู้ใช้ ความพร้อมในปัจจัยต่างๆ พร้อมกันไปด้วย

                        4. การปฏิรูประบบตรวจสอบและประเมินผล เป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญต่อการสร้างผลผลิตให้มีคุณภาพและคุ้มค่า เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ดังนั้น ระบบดังกล่าวต้องมีการตรวจสอบตั้งแต่เริ่มวางกรอบความคิดสู่การผลิตเป็นสื่อสำเร็จ เมื่อนำไปใช้ต้องมีการประเมินทั้งก่อนและหลังการใช้ เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นได้ว่าผลผลิตมีคุณภาพตามมาตรฐานที่ต้องการ